กิลามุบารัก (ปฏิอาลา)
กิลามุบารัก (ปฏิอาลา)

กิลามุบารัก (ปฏิอาลา)

กิลามุบารัก (อักษรโรมัน: Qila Mubarak) เป็นป้อมปราการ สร้างด้วยสถาปัตยกรรมซิกข์ ตั้งอยู่ในปฏิอาลา รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย[1]กิลามุบารักสร้างขึ้นแรกเริ่มเป็นป้อมปราการดินเหนียว (Mud fortress) โดยผู้นำสิธูชัต บาบา อะลา สิงห์ ผู้สถาปนาจักรวรรดิปฏิอาลา และสร้างป้อมปราการนี้ขึ้นในปี 1763[2] ต่อมาได้มีการก่อสร้างป้อมปราการขึ้นใหม่โดยใช้อิฐดินเผา ว่ากันว่าป้อมปราการที่สร้างขึ้นในปี 1763 เป็นการสร้างต่อขยายบนรากฐานเดิมของป้อมปราการจากจักรวรรดิโมกุลที่สร้างขึ้นโดยผู้ครองแคว้นปฏิอาลา ฮุสเซน ข่าน (Hussain Khan) ส่วนภายในของกิลามุบารักที่ชื่อ กิลาอันดรูน (Qila Androon) สร้างขึ้นโดยมหาราชา อาเมร์ สิงห์[3] ห้องดังกล่าวประกอบด้วยโถง 13 ห้องซึ่งเขียนเล่าเรื่องราวจากปรัมปราวิทยาฮินดูด้วยศิลปกรรมแบบปฏิอาลา[4]กิลามุบารักใช้งานเป็นที่พำนักของราชวงศ์ปฏิอาลา ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 10-เอเคอร์ (40,000-ตารางเมตร) ในใจกลางเมือง ภายในประกอบด้วย รันบาส (Ran Baas; เกสต์เฮาส์) และ โถงดาร์บาร์ หรือ ดีวันคานา (Darbar Hall; Divan Khana)[5] และห้อง กีลาอานดรูน (Qila Androon) ซึ่งประดับด้วยจิตรกรรมฝาผนังแบบปฏิอาลา ภายในของกิลามุบารักยังมีระบบท่อขับถ่ายของเสียอยู่ใต้ดิน[6] โถงดาร์บาร์ในปัจจุบันเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เครื่องยุทธ์และโคมระย้า (Museum of Armoury & Chandelier) ภายในจัดแสดงปืนใหญ่, ดาบ, โล่กับคฑา และสมบัติสำคัญ เช่น มีดสั้นของคุรุโควินทสิงห์ และดาบของนาดีร์ ชาห์[7]กิลามุบารักมีอายุมากกว่า 300 ปี[8] และเคยถูกบรรยายว่าอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม[9] และมีความเสียหายอย่างหนัก[10] และยังได้รับการขึ้นชื่อโดยกองทุนอนุสรณ์โลกให้เป็นหนึ่งใน 100 "อนุสรณ์เสี่ยงอันตราย" ที่สุดของโลกในรายงานปี 2004[8] ท้ายที่สุดจึงมีโครงการการบูรณะกิลามุบารักภายใต้กองทุน อินตัช ซึ่งสนับสนุนโดยรัฐบาลรัฐและรัฐบาลกลางอินเดีย[11] และได้รับการดูแลโดยกรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย[12] และมีเงินทุนสนับสนุนจากกองทุนอนุสรณ์โลก[13][14][15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: กิลามุบารัก (ปฏิอาลา) http://www.indianexpress.com/oldStory/36639/ https://web.archive.org/web/20100118160501/http://... http://www.punjabiuniversity.ac.in/pages/forensics... http://indiatoday.intoday.in/site/Story/23525/Simp... https://web.archive.org/web/20100728091755/http://... http://punjabgovt.nic.in/TOURISM/Patiala.htm https://web.archive.org/web/20090802204238/http://... http://punjabgovt.nic.in/TOURISM/PalacesofPunjab.h... https://web.archive.org/web/20100410202932/http://... http://punjabgovt.nic.in/Culture/Museums.htm